น้ำตาล ภัยเงียบที่อันตรายต่อสุขภาพตับ

น้ำตาล (SUGAR) เป็นสารให้ความหวานที่ถือว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย น้ำตาลถือว่าเป็นสารอาหารที่ค่อนข้างสำคัญต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม แต่ด้วยรสชาติที่หอมหวาน ให้ความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แถมร่างกายยังรู้สึกแฮปปี้เมื่อทานน้ำตาลเข้าไปมากๆ ส่งผลให้ร่างกายเริ่มเสพติดน้ำตาลในที่สุด

การบริโภคน้ำตาลเกิดความต้องการของร่างกายไม่ได้เสี่ยงแค่โรคเบาหวานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงอวัยวะที่เรียกว่า “ตับ” ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่และสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เป็นอวัยวะที่กุมหน้าที่สำคัญๆ ในร่างกายเอาไว้มากมาย ถ้าตับทำงานผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายมากมายกว่าที่คุณคิด ถ้าคุณไม่อยากสุขภาพพัง ควรลดการทานน้ำตาล เพราะยิ่งทานน้ำตาลมากเท่าไรยิ่งส่งผลกระทบต่อตับมากเท่านั้น

น้ำตาล ที่ควรบริโภคในแต่ละวันมีปริมาณเท่าไร?

น้ำตาล ถือว่าเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีประโยชน์มากมายกว่าที่คุณคิดถ้าหากบริโภคในปริมาณที่พอดี เช่น ช่วยลดความเครียด ช่วยบรรเทาการปวด ช่วยดับร้อน ช่วยแก้เจ็บคอ ฯลฯ แต่ถ้าบริโภคน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกายย่อมเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังมากมาย เช่น

  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันพอกตับ
  • โรคอ้วน
  •  โรคความดันโลหิตสูง
  •  โรคหัวใจ
  • ฯลฯ

ถ้าใครไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทานอาหารคาว อาหารหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจำนวนมาก ควรลดปริมาณน้ำตาลที่บริโภคในแต่ละวัน และต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลในตอนนี้ก่อนที่จะสายเกินไป สำหรับปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคในแต่ละวันตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่จะต้องไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม/วัน

น้ำตาล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพตับอย่างไร?

ตับ (Liver) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้แก่ร่างกาย โดยฮอร์โมนที่ผลิตได้นั้นจะนำมาลดปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้กลายเป็นไขมัน ยิ่งคุณบริโภคน้ำตาลเยอะเท่าไร ตับก็จะเร่งผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ปริมาณฮอร์โมนสมดุลกับปริมาณน้ำตาลในร่างกาย ถ้าคุณไม่อยากให้สุขภาพตับพังจากน้ำตาล ควรที่จะลดปริมาณน้ำตาลที่ทานในแต่ละวันลง เพราะยิ่งทานน้ำตาลมากเท่าไรไขมันก็จะสะสมในร่างกายมากเท่านั้น แถมยังเสี่ยงต่อการสะสมไขมันตามอวัยวะต่างๆ เช่น สะสมไขมันบนตับ ซึ่งทำให้ตับของคุณเสี่ยงโรคไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ แต่จะแสดงอาการเมื่อตับของคุณได้รับความเสียหายรุนแรงและยากที่จะรักษาให้หายขาดจากโรค นอกจากนี้แล้วการป่วยเป็นไขมันพอกตับถ้าไม่รีบรักษาให้ถูกวิธี ยังจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับอีกด้วย

Liver Thailand ยินดีตอบคำถาม และพร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพของตับ โดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องตับเพียงแค่คลิกที่นี่

สอบถาม