มะเร็งตับ ดับเกือบทุกราย

มะเร็งตับ ดับเกือบทุกราย

มะเร็งตับ (Liver Cancer) คืออะไร ?

มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นโรคที่ได้รับความสำคัญที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลกและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่ง โดยเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดมักพบในเพศชายเป็นอันดับ 1 และเพศหญิงเป็นอันดับ 3 ทั้งนี้ โรคมะเร็งตับเกิดจากเซลล์ของตับที่เป็นมะเร็ง ซึ่งทำการแบ่งตัวแล้วแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โรคนี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะแสดงอาการในระยะกลางและระยะสุดท้าย กว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก ผู้ป่วยก็มักจะเริ่มมีอาการรุนแรงและอยู่ในระยะสุดท้ายของโรคแล้ว จึงถือว่าเป็นโรคที่อันตรายมาก

ชนิดของมะเร็งตับ

มะเร็งตับแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

  • มะเร็งของเซลล์ตับ จะเกิดจากเนื้องอกที่เป็นอันตราย อันมีชื่อว่า เฮปาโตเซลลูลาคาร์ซิโนมา (Hepatocellular carcinoma) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลกและพบมากที่สุดในประเทศไทย
  • มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ จะเกิดจากเนื้องอกที่เป็นอันตราย อันมีชื่อว่า โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา (Cholangiocarcinoma) 

นอกจากนี้ มะเร็งตับยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดตามระยะเช่นกัน คือ ระยะปฐมภูมิและระยะลุกลาม 

  • มะเร็งตับระยะปฐมภูมิ จะเกิดจากเนื้องอกที่เป็นอันตรายทั้งสองชนิดดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น (HCC/CC)
  • มะเร็งตับระยะลุกลาม มีสาเหตุจากการที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากส่วนอื่นๆของร่างกาย

อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตับ

อุบัติการณ์โรคมะเร็ง คือ จํานวนของผู้ป่วยใหม่ต่อจำนวนประชากรในพื้นที่ๆกำหนด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วไปมักจะทำรายงานผลการเก็บข้อมูลออกมาเป็นอัตราส่วนต่อจำนวนประชากรหลักแสนคน

โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและ International Agency for Research on Cancer แสดงให้เห็นว่า ในเพศชาย มะเร็งตับพบได้ร้อยละ 7.9 สูงเป็นอันดับ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด มีอุบัติการณ์ 1 ต่อ 523,000 รายต่อปี ส่วนในเพศหญิงพบได้ร้อยละ 6.5 มากเป็นอันดับ 7 ของผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด มีอุบัติการณ์ 1 ต่อ 226,000 รายต่อปี

ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออก โดยมีอุบัติการณ์มากกว่า 20 ต่อ 100,000 รายต่อปี และผู้ป่วยมะเร็งตับทั่วโลกมีการเสียชีวิตในอัตราที่สูงเป็นอันดับต้นๆ  โดยผู้ป่วยมะเร็งตับที่ไม่ได้รับการรักษา จะมีอัตรารอดชีวิตหรืออยู่ต่อได้เพียง 1 ปีและ 2 ปี ประมาณร้อยละ 8 และร้อยละ 7 ตามลำดับ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การวินิจฉัยโรคและตรวจพบมะเร็งตับตั้งแตเนิ่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษา โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรจะปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อทําการตรวจสอบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ ทั้งนี้ วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับ ประกอบด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็งตับ สามารถช่วยในการวินิจฉัยรักษาโรคในระยะแรกๆ ทั้งนี้ เมื่อเซลล์มะเร็งตับมีการเจริญเติบโต สารอัลฟา-เฟโตโปรตีน (alpha-fetoprotein) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดมะเร็ง จะถูกตรวจพบในเลือดเป็นปริมาณสูง 
  • การตรวจช่องท้องแบบอัลตราซาวด์ การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยในการยืนยันขนาดและที่ตั้งของเนื้องอก ซึ่งจะใช้เวลาในการตรวจสักระยะหนึ่ง และผู้ปวยต้องงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ประมาณ 4 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ
  • การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ วิธีนี้จะใช้ในการตรวจวินิจฉัยตับและแสดงผลออกมาเป็นรูปแบบกราฟ ซึ่งแสดงที่ตั้งและขนาดของเนื้องอกอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้ปวยจําเป็นต้องดื่มสารทึบแสงเข้าไปในร่างกาย 
  • การตรวจรังสีหลอดเลือด วิธีนี้จะใช้ในการตรวจสอบการไหลเวียนของโลหิต โดยผู้ปวยจะได้รับการฉีดสีเขาไป การตรวจสอบนี้จะช่วยยืนยันตําแหน่งของเนื้องอกและหลอดเลือด
  • การตรวจ MRI เป็นวิธีการตรวจที่จะมาแทนการเอ็กซเรย์ ซึ่งจะสร้างภาพสแกนขึ้นมาจากการตรวจสอบที่ตั้งของมะเร็งตับ

นอกจากวิธีตรวจวินิจฉัยดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีวิธีการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจสอบ โดยแพทย์จะใช้เข็มเจาะนําเอาเนื้อเยื่อของตับที่บริเวณด้านขวาของท้องไปตรวจสอบ ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่เลือดจะออกได้ วิธีการนี้จึงจะทําก็ต่อเมื่อผู้ปวยมีอาการชาและยังช่วยในการวินิจฉัยว่า เนื้องอกที่พบนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ การตรวจสอบแบบนี้จะใช้ควบคูไปกับการอัลตราซาวด์ เพื่อให้แนใจวาการตรวจสอบทําได้ถูกจุด

สาเหตุและการเกิดโรคมะเร็งตับ

สาเหตุและการเกิดโรคมะเร็งตับ

มะเร็งตับเกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับก็ได้ ซึ่งมะเร็งตับส่วนใหญ่ก็มักมีที่มาจากสาเหตุหลังนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมักไม่มีอาการสำแดงออกมาจนกว่าจะขยายวงกว้างขึ้นมาก ซึ่งเป็นระยะที่ยากต่อการรักษาให้หาย อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่กล่าวมา ยังนับว่าเป็นสาเหตุทางอ้อมของมะเร็งตับ ซึ่งมีเหตุปัจจัยมากมายหลายอย่างในการเกิดโรค แต่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง ยังคงอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้เป็นมะเร็งตับ ได้แก่

  • ไวรัสตับอักเสบ บี โดยจากสถิติพบว่า มากกว่า 55% ของผู้ปวยมะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี กล่าวคือ ผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้ จะสามารถกลายเป็นโรคตับแข็งแบบเรื้อรัง อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ
  • โรคตับแข็ง จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งเรื้อรังประมาณ 25 ปีขึ้นไป จะพัฒนากลายไปเป็นโรคมะเร็งตับได้ 
  • ไวรัสตับอักเสบซี ทั้งนี้ โอกาสที่ผู้ป่วยหรือพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะกลายเป็นโรคมะเร็งตับ อยู่ที่ประมาณมากกว่า 100 เท่า อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งตับที่เกี่ยวข้องกับไวรัสตับอักเสบซี จะพบได้ในประเทศแถบตะวันตกมากกว่าในเอเชีย
  • ภาวะไขมันพอกตับ ทั้งแบบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะอ้วน เบาหวาน และระบบเมทาบอลิซึมผิดปกติ ก็สามารถที่จะนํามาซึ่งโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้
  • พิษจากการรับประทานอาหาร จากการทดสอบในสัตว์ สารอัลฟาท็อกซินที่พบในพืชจําพวกถั่ว งา และธัญพืช สามารถที่จะเป็นสาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งตับได้
  • การสูดดมสารพิษเป็นระยะเวลานาน เช่น ผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่หรือในโรงงานผลิตพลาสติก

หากต้องการที่จะลดเหตุปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็งตับ ควรงดดื่มสุราหรือของมึนเมาด้วย เพราะการดื่มสุราอย่างหนักเป็นสาเหตุที่ทําให้ตับแข็งและผู้ป่วยโรคตับแข็งมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งตับมากกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นถึง 2 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบแบบเรื้อรัง ก็อาจเป็นสาเหตุที่โรคดังกล่าวจะพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งของท่อน้ำดีในตับได้เช่นกัน

อาการของโรคมะเร็งตับ

มีข้อมูลที่น่าเชือถือได้และได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ตับเป็นอวัยวะที่สามารถฟื้นตัวได้เอง ดังนั้น ถ้าตับยังคงทํางานได้อย่างเป็นปกติ ผู้ป่วยก็จะไม่ปรากฎอาการของมะเร็งตับออกมาในระยะแรกๆอย่างเด่นชัดเท่าไรนัก จนกระทั่งถึงระยะที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งอาการทั่วไปของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ จะมีลักษณะดังนี้:

  • มีอาการเจ็บปวดที่ไหล่ขวา ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาทของกระบังลมเชื่อมต่อกับเส้นประสาทของหัวไหล่
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • รู้สึกง่วงซึมตลอดเวลา
  • คลำพบก้อนแข็งบริเวณช่วงท้องด้านขวาบน
  • ผิวหนังและตามีอาการซีดและคัน เนื่องจากเนื้องอกไปอุดตันในถุงน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุให้ถุงน้ำดีทํางานผิดปกติและเปลี่ยนสีไป อันเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน
  • อุจจาระเป็นสีเทาอย่างชัดเจน
  • เกิดภาวะที่มีน้ำคั่งในช่องท้องเป็นจํานวนมาก (ท้องมาน)

นอกจากนี้ ผู้ที่สันนิษฐานว่าตนเองอาจจะเป็นโรคมะเร็งตับ ยังสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้จากการปวดบริเวณชายโครงด้านขวาบ่อยๆ รวมถึงอาจมีอาการข้อเท้าหรือเท้าบวม และมีเลือดกำเดาไหลหรือเลือดออกตามผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุ

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับ

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตับ

เมื่อผู้ปวยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอย่างแน่ชัดแล้ว แพทย์จะแนะนําวิธีการรักษาโดยขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งมีมากมายหลายวิธีควบคู่กันไป หรือแพทย์อาจตัดสินใจเลือกรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งวิธีรักษาที่คนทั่วไปคุ้นหูกันมากที่สุด คือ การรักษาแบบเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งหมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยสามารถให้ยาเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้หลายวิธี เช่น เคมีบำบัดชนิดรับประทาน เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากช่วยให้ยาสามารถกระจายไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

ยาเคมีบำบัดโรคมะเร็ง ออกฤทธิ์อย่างไร

การออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดนั้นอยู่บนพื้นฐานความรู้เรื่องการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต โดยเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโตและทดแทนเซลล์ที่ตายไปหรือได้รับบาดเจ็บ เซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งจะมีวงจรการแบ่งเซลล์ที่เหมือนกันและสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะด้วยกัน หลังจากผ่านไปหนึ่งรอบของการแบ่งเซลล์จะได้จำนวนเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนกันเพิ่มอีก 1 เท่าตัว 

เนื่องจากยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ที่มีการแบ่งตัวโดยไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ปกติที่กำลังแบ่งตัว เช่น เซลล์รากผม หรือเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น หรือเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวได้ ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด ดังนั้น การพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดแต่ละครั้งแพทย์จะคำนึงถึงประโยชน์จากการควบคุมรักษาโรคมะเร็ง และลดผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย

อย่างไรก็ดี วิธีการรักษาด้วย เคมีบำบัดแบบดั้งเดิม มีผลข้างเคียงค่อนข้างมากและเป็นวิธีที่ล้าสมัยไปแล้ว  เนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะรุนแรง (โดยเฉพาะอาการผมร่วง) ดังนั้น แพทย์และผู้ป่วยในปัจจุบัน จึงนิยมใช้การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่น ดังต่อไปนี้ 

  • เคมีบําบัดทางหลอดเลือดแดง (TACE) วิธีการนี้จะช่วยในการห้ามเลือดและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก อีกทั้งยังทําให้เนื้อร้ายมีขนาดเล็กลง ซึ่งทําได้โดยการฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเนื้องอกผ่านเส้นเลือดใหญ่จากหัวใจด้านซ้าย (ดังภาพด้านล่าง) และจะใช้การบล็อคเส้นเลือดเพื่อดูการทํางานของเซลล์มะเร็งตับ เป็นการควบคุมให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุดและไมมีผลต่อเนื้อเยื่อตับ
เนื้อเยื่อมะเร็งตับ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://ionope.blogspot.com/2014/09/toce-tace.html
  • ผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดออกนี้ จะเหมาะสมในผู้ป่วยมะเร็งตับ 20% ที่มีปัญหากลีบเนื้องอกตับเพียงข้างเดียว โดยที่การทํางานของตับส่วนอื่นๆ ยังปกติดี ผู้ปวยกว่าครึ่งหนึ่งที่เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้เฉลี่ยประมาณ 3 – 5 ปี
  • ฉีดแอลกอฮอล์ เป็นวิธีที่ใช้ควบคู่ไปกับการอัลตราซาวด์หรือการสแกนด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อตําแหน่งของเนื้องอกได้รับการยืนยันแล้ว หลังจากนั้นจึงฉีดแอลกอฮอลที่มีความเข้มข้นประมาณ 95% ตรงเข้าไปยังจุดที่เป็นเนื้องอก ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์จะช่วยในการทําให้เซลล์เนื้อร้ายแห้งและตายไปในที่สุด เป็นวิธีที่เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยที่เนื้องอกมีขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร หรือมีเนื้องอกน้อยกวา 3 ชิ้น
  • การจี้เนื้องอกด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFA) วิธีนี้จะใช้ความร้อนในการทําลายเนื้องอก โดยอุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 60 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและตําแหน่งของเนื้องอก โดยจะผ่าออกผ่านทางผิวหนังหรือหน้าท้อง ควบคู่ไปกับการทําอัลตราซาวด์พร้อมกันเพื่อเฝ้าดูเนื้องอก เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับทั้งผู้ที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นและระยะลุกลาม
  • การเปลี่ยนถ่ายตับ เป็นวิธีสําหรับผู้ที่ไม่สามารถผ่าตัดนำเนื้องอกออกจากตับได้ ผู้ปวยที่ตับทํางานได้ไม่ดี และ/หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับการให้เคมีบําบัด แต่ถ้าหากว่าเนื้องอกเจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซ็นติเมตรแล้ว การเปลี่ยนถ่ายตับอาจทำให้เชื้อมะเร็งแพร่กระจายไปยังตับที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่ได้อีก
  • การนำรังสีเข้าสู่ร่างกายเฉพาะจุด (SIRT) วิธีนี้จะใช้การฉายรังสีเข้าสู่จุดที่เป็นเนื้องอกโดยเฉพาะ โดยจะฉีดตรงไปยังเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงตับโดยเฉพาะ และมีสาร Yttrium-90 ในที่เก็บสารอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งมีความสามารถในการปล่อยรังสีระยะสั้น วิธีการนี้จะใชรังสีปริมาณสูงได้โดยไมทําลายการทํางานของตับจนเกินความจําเป็น จากการศึกษาพบว่า ประมาณกว่า 60% ของผู้ปวยมะเร็งตับระยะสุดท้ายมีการตอบสนองต่อวิธีการรักษาประเภทนี้
  • การฉายรังสีพลังงานสูงแบบ SABR หรือ Stereotactic Ablative Radiotherapy เป็นวิธีการฉายรังสีภายนอกที่แทบจะไม่ได้ใช้กับผู้ปวยมะเร็งตับชนิด HCC เนื่องจากผู้ป่วยดังกล่าวจะมีความอดทนต่ำต่อการฉายรังสีที่ตับ แต่หากฉายรังสีในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะสามารถควบคุมการลุกลามของโรคได้และยังรักษาชิ้นส่วนอื่นๆ ของตับให้ทํางานได้ตามปกติด้วย โดยผลการรักษายังชี้ชัดอีกว่า สามารถใช้กับผู้ปวยที่โรคกําเริบใหม่ได้อีกด้วย แม้วาจะเคยทําการรักษาด้วยวิธี TACE หลายครั้งแล้วก็ตาม และวิธีการรักษาประเภทนี้ยังเหมาะกับผู้ปวยที่มีภาวะลิ่มเลือดถึงขั้นเส้นเลือดอุดตันด้วย 

นอกจากการรักษาโรคมะเร็งตับด้วยวิธีการต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการรักษาแบบ Sytemic therapy และการรักษาแบบ Targeted therapy ซึ่งเป็นวิธีสมัยใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจของแพทย์ผู้

ชี่ยวชาญในการดำเนินการรักษาเท่านั้น ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายก็เลือกที่จะประคับประคองอาการด้วยรับประทานยาแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ค่อยได้ผลดีเท่าไรนัก จึงมักจำเป็นต้องกลับมาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

ยารักษามะเร็งตับ

ยารักษามะเร็งตับ

ยาโซราฟฟินิบ (Nexavar) เป็นยาเคมีบำบัดที่ออกฤทธิ์ช่วยชะลอและยับยั้งการเกิดหรือการกระจายของเซลล์มะเร็ง นำมาใช้รักษามะเร็งตับ มะเร็งไทรอยด์ และมะเร็งของเนื้อเยื่อไต โดยขนาดหรือปริมาณและระยะเวลาการใช้ยา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ยาตัวนี้จัดเป็นยารักษาโรคมะเร็งในกลุ่มรักษาแบบมุ่งเป้าชนิดยับยั้งการทำงานของเอ็มไซด์ไทโรซีน ซึ่งเริ่มมีใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายโรงพยาบาลในปัจจุบัน 

ในปัจจุบันการศึกษาเซลล์มะเร็งเพื่อจะหาตัวรับ (Receptor) ที่พบว่ามีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาหาตัวยาที่มีความจำเพาะในการยับยั้งตัวรับนั้นและเพิ่มประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงลดผลข้างเคียงจากการรักษา โดย Vascular endoterium growth factor receptor (VEGFR) และ Platelet derived growth factor receptor (PDGFR) เป็นสองตัวรับที่มักพบได้ว่า มีการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยมะเร็งตับ 

คำเตือนในการใช้ยารักษามะเร็งตับ

โดยพื้นฐานแล้ว ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา หากมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยา รวมถึงหากแพ้อาหารบางประเภทหรือยาชนิดอื่นๆด้วย ควรใช้ยาตามฉลากและตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยานี้ในปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่แพทย์แนะนำ นอกจากนี้ ยังควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือการรักษาทางทันตกรรม ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบว่ากำลังใช้ยานี้อยู่ เพราะอาจต้องหยุดใช้ยาชั่วคราว
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยา ในกรณีที่ไตหรือตับทำงานผิดปกติ เป็นมะเร็งปอด เลือดออกผิดปกติ มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด มีภาวะความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก เป็นโรคหัวใจ หัวใจเต้นช้า หัวใจวาย และมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจขาดเลือด
  • เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ให้ห่างจากความร้อนและความชื้น
  • สำหรับผู้ป่วยเพศหญิง ต้องคุมกำเนิดในระหว่างที่ใช้ยานี้และต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากหยุดใช้ยาแล้ว
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้
  • ห้ามให้นมบุตรระหว่างที่ใช้ยา เพราะอาจเกิดอันตรายต่อทารก
  • ห้ามบด หัก หรือเคี้ยวยาชนิดเม็ด โดยให้กลืนยาทั้งเม็ดพร้อมดื่มน้ำเปล่า
  • ระหว่างที่ใช้ยา ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจเลือดอยู่บ่อยครั้ง
  • รับประทานยาตอนท้องว่างก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง

หากลืมรับประทานยาและนึกขึ้นได้ภายใน 6 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาครั้งถัดไป สามารถรับประทานยาได้ทันที หากเลย 6 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาครั้งถัดไปแล้ว ไม่ต้องรับประทานยาในมื้อนั้น ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปตามปริมาณปกติ ห้ามเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า หากสงสัยว่าตนใช้ยาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาโซราฟฟินิน

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาโซราฟฟินิบ (Sorafenib’s side effects)

การใช้ยาโซราฟฟินิบในผู้ป่วยบางราย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทางกายภาพ ซึ่งอาการที่มักพบได้บ่อย ได้แก่

  • รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก และคลื่นไส้
  • ปวดท้อง ท้องเสีย 
  • มีผื่นขึ้น มีอาการคันตามผิวหนัง 
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • เส้นผมร่วง 
  • เป็นลมพิษ 
  • หน้าบวม คอบวม ลิ้นบวม และริมฝีปากบวม
  • แสบหรือระคายเคืองตา
  • ความดันโลหิตสูงรุนแรง ซึ่งอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติและชัก
  • เป็นแผลในช่องปาก
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน  ลำไส้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น 
  • ไอแหบแห้งหรือจามเป็นเลือด
  • อาเจียนสีน้ำตาลเข้ม
  • วิงเวียนศีรษะ ขาดสมาธิ
  • หายใจมีเสียงวีด เจ็บหน้าอก
  • เจ็บที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้าอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาในการนอนหลับ
  • รู้สึกร้อนรน ประหม่า และกังวล 
  • เกิดรอยช้ำได้ง่าย เลือดออกผิดปกติ หรือเลือดไหลไม่หยุด
  • สำหรับผู้หญิง ประจำเดือนอาจมามากผิดปกติ

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใดๆเพิ่มเติม หรือเกิดผลข้างเคียงและมีอาการแพ้ยาที่รุนแรง ควรไปพบแพทย์ทันที ซึ่งอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ประกอบด้วย โรคภาวะหัวใจขาดเลือด ต่อมไทรอยด์ทํางานผิดปกติ ลําไส้ทะลุ และตับอักเสบ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งตับ

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับมักจะไม่มีอาการหรือโรคแทรกซ้อนใดๆ ยกเว้นจะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ อย่างไรก็ดี นอกจากอาการที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งตับอันเป็นผลแทรกซ้อนจากการรักษาที่กล่าวไปแล้ว เนื้อร้ายหรือมะเร็งตับยังอาจสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะบริเวณอื่นๆ เช่น บริเวณตามต่อมน้ำเหลือง ปอด กระดูก และอวัยวะอื่นๆที่อยู่ห่างไกลออกไป หรือส่งผลให้มีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น ในระบบทางเดินอาหาร และก้อนเนื้องอกอาจแตกได้

ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตับวาย โดยมักจะเกิดขึ้นได้ในระยะท้ายๆของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เพราะเมื่อเนื้อเยื่อตับจะถูกทําลายไปมาก จะทําให้ตับไม่สามารถดูดซับสารพิษจากร่างกายได้ และอาจนํามาสู่การเป็นโรคสมองที่มีเกิดจากตับ อันเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับ

นอกจากนี้ โรคมะเร็งตับยังอาจนําไปสู่ภาวะไตวายได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้เหมือนเคย และการแพร่กระจายของเนื้อร้ายยังอาจลุกลามไปสู่เยื่อบุช่องท้องที่มีสาเหตุมาจากอาการท้องมาน เมื่อนั้น มะเร็งตับที่อยู่ใกล้กระบังลมจะแทรกซึมเขาไปยังกระบังลมและเยื่อหุ้มปอด ซึ่งอาจนําไปสู่อาการน้ำในเยื่อหุ้มปอดตกเลือด

ข้อจำกัดในการรักษามะเร็งตับ

ข้อจำกัดในการรักษามะเร็งตับ

เนื่องจากตับมีลักษณะทางกายวิภาคค่อนข้างซับซ้อน การรักษามะเร็งตับให้หายจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และยังมีข้อจำกัดบางประการ ดังนี้

  • ผลการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมของผู้ป่วยและสมรรถภาพการฟื้นตัวของตับ หากร่างกายของผู้ป่วยไม่แข็งแรงพอ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หรือถ้าหากสมรรถภาพการทำงานของตับเสื่อมประสิทธิภาพ ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายจากการผ่าตัด
  • ส่วนใหญ่จะสามารถรักษาให้หายขาดได้เพียงในระยะเริ่มต้น หากเป็นในระยะกลางถึงระยะสุดท้ายแล้ว โอกาสรักษาให้หายขาดแทบจะเป็นศูนย์
  • การผ่าตัดเปลี่ยนตับสามารถทำได้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  • ในผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเหลือง ขาบวม และ/หรือท้องบวม อันบ่งชี้ถึงภาวะการทำงานของตับที่เสื่อมประสิทธิภาพ การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการได้รับยาที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

แนวทางป้องกันโรคมะเร็งตับ

เมื่อเชื้อมะเร็งอยูในระยะกลางหรือระยะสุดท้าย จะทําการรักษาจะทําได้ยากขึ้นเรื่อยๆ การป้องกันโรคจึงมีประโยชน์มากกว่า โดยมีแนวทางทั่วไปในการป้องกันโรคมะเร็งตับ ดังนี้

  • ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น นม ไข่ อาหารที่มีไขมันน้อย อาหารที่มีวิตามินสูง และหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำมันจากสัตว์
  • ออกกําลังกายสม่ำเสมออย่างเหมาะสม โดยไม่หักโหมเกินไป
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ปวยไวรัสตับอักเสบบี
  • รับประทานอาหารปรุงสุกทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีเชื้อราปนเปื้อน เช่น อาหารจําพวกตระกูลถั่วและธัญพืช ซึ่งอาจจะเน่าเสียและผลิตสารอะฟลาท็อกซิน ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ จึงควรจัดเก็บอาหารประเภทเหล่านี้ในที่แห้งและเย็น

สําหรับผู้ปวยตับอักเสบชนิดต่างๆ ควรที่จะได้รับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยในการตรวจพบเจอเชื้อมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง ก็ควรที่จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับ

ถึงแม้ว่า โรคมะเร็งจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับมากกว่าผู้อื่น ได้แก่

  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะไวรัสชนิดบี
  • ผู้ป่วยโรคตับแข็ง เบาหวาน และโรคอ้วน
  • ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีเชื้อรา (โดยไม่รู้ตัว) เช่น แป้งสาลี ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฯลฯ
  • ผู้ที่ดื่มสุราจัดหรือดื่มเป็นประจำทุกวัน
  • ผู้ใช้ยาบางชนิดที่เสี่ยงต่อโรคตับ
  • ผู้ที่ได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น การได้รับฮอร์โมนเพศชายเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง
  • ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ
  • ผู้ที่ใช้หรือได้รับสารเคมีอันตรายจากยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) และสารหนู (Arsenic) ที่อาจพบได้ในบ่อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งเมื่อได้รับเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมจนเกิดโรคมะเร็งตับ

ทั้งนี้ หากรู้ตัวว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อทำการคัดแยกโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยนำไปสู่การรักษาให้หายขาดได้ง่ายขึ้น

ตัวเลขและสถิติมะเร็งตับ

ตัวเลขและสถิติมะเร็งตับ

  • มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและมะเร็งลําไส้ใหญ่ โดยมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 1,800 รายในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 รายจากจำนวนดังกล่าว มีผู้ปวยใหมเพศชายประมาณ 75% และมีอายุเฉลียที่ 63-69 ปี
  • ผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสในการเป็นมะเร็งตับมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยไวรัสตับอักเสบบีถึง 100 เท่า
  • มากกว่า 50% ของเด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดา จะเสียชีวิตด้วยโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับก่อนอายุ 50 ปี
  • จากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีประชากรที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับ 5 ของโลก ซึ่งนำไปสู่อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับ
  • ประมาณ 40% ของผู้ที่เป็นมะเร็งในส่วนอื่นๆ เสียชีวิตจากการที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังตับ
  • โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดรักษามะเร็งตับมีค่อนข้างสูง โดยที่ผ่านมา มีอัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดรักษามะเร็งตับ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 3
  • ประเทศญี่ปุ่นทำการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งตับกว่า 600 ราย พบว่าการรักษาด้วยวิธี RFA ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสอยู่รอดนานกว่า 1-4 ปี ถึงร้อยละ 95, 86, 78 และ 38 ตามลำดับ ขณะที่รายงานจากสถาบัน MD Anderson ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าอัตราการรอดชีวิตนานกว่า 5 ปี สูงถึงร้อยละ 55 โดยมีอัตรากลับเป็นซ้ำเพียงร้อยละ 5
  • ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับทั่วโลก เพิ่มมากขึ้นเป็น 3 เท่า ในช่วง 20 ปี คือ ระหว่างปี 1997 – 2016
  • มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับจำนวน 31,780 ราย (ผู้ชาย 21,600 คนและผู้หญิง 10,180 คน)
สอบถาม