ไวรัสตับอักเสบบี ความเสี่ยงที่ติดต่อได้

ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ตัวการสำคัญของมะเร็งตับ ติดต่อได้ด้วยการติดเชื้อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์และจากแม่สู่ลูก โดยอาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในเบื้องต้นแทบจะไม่สามารถสังเกตได้เลย โดยทั่วไปจะมีไข้ ตัวเหลือง ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ โดยอาการเหล่านี้หากไม่ได้รับการตรวจโดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ การตัดชิ้นเนื้อตับไปเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ โดยการตรวจนั้นต้องทำซ้ำทุก 6 เดือน นอกจากนี้ในผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้ทำการรักษาก็จะส่งผลให้ป่วยเรื้อรัง จนกลายเป็นพาหะของโรคและไม่อาจรักษาให้หายขาดได้นั่นเอง ดังนั้นหากมีประวัติคนในครอบครัว คู่สมรส หรือแม้แต่คู่รัก ที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ก็ควรตรวจหาเชื้อเสียก่อน เพื่อความมั่นใจว่า คู่รัก คู่สมรสของคุณไม่ได้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เพื่อการเตรียมตัวสู่อนาคตในการมีบุตรนั่นเอง

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ โดยไวรัสตับอักเสบบี ส่งผลให้เซลล์ตับอักเสบและถูกทำลาย หากปล่อยไว้นานก็จะอยู่ในภาวะเรื้อรังและทำให้เกิดพังผืด ตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้ ดังนั้นเมื่อคุณแม่หรือสามี มีเชื้อไวรัสนี้ก็มีโอกาสที่ลูกน้อยจะได้รับเชื้อถึง 90% เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องกระตุ้นวัคซีนและอิมมูโกลบูลินให้แก่ลูกน้อยหลังคลอด ภายใน 12 ชั่วโมง

คุณแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มีความเสี่ยงต่อ

  • เกิดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง ขณะตั้งครรภ์ 
  • ร่วมกับส่งผลให้มีเลือดออกผิดปกติบริเวณช่องคลอดและ
  • อาจไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ 
  • มีโอกาสตับวายระหว่างตั้งครรภ์

ลูกน้อยที่เกิดจากคุณแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี  มีความเสี่ยงต่อ

  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
  • เลือดออกในสมอง
  • น้ำหนักตัวต่ำ หรือ สูง กว่ามาตรฐาน

ผู้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • ผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 โดยปกติแล้วผู้ที่เกิดหลังจากปี พ.ศ. 2535 จะได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ทำให้ลดความเสี่ยงได้
  • มีประวัติเคยใช้สารเสพติดด้วยเข็มฉีดยา
  • ติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) 
  • เคยรับเลือด หรือ ปลูกถ่ายอวัยวะ
  • เคยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • ญาติหรือคนในครอบครัวมีประวัติ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ตับแข็งและหรือมะเร็งตับ
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  • ผ่านการสัก (tattoo) เจาะบริเวณร่างกายและการฝังเข็ม ฉีดยาหรือผ่าตัด (ที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน)
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่เคยได้รับอุบัติเหตุจากอุปกรณ์การรักษา เช่น เข็ม มีดผ่าตัด 
  • ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ 

ไวรัสตับอักเสบบี วิธีการรักษา

โดยมากเมื่อตรวจพบว่าคุณมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย แพทย์จะจ่ายยาทั้งยาชนิดรับประทานและวัคซีน ทั้งนี้ก็จะมีการนัดพบอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการต่อไป

การดูแลตัวเองของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  1. แจ้งคนใกล้ชิด เพื่อให้เขาเข้ารับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี 
  2. สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  3. งดดื่มแอลกอฮอล์ 
  4. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ 
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  6. ตรวจเลือดเพื่อรีเช็กอาการและติดตามทุก 6 เดือน 
  7. ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ข้อมูลเพิ่มเติม ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายจากแม่สู่ลูก

สอบถาม