พฤติกรรมอันตรายที่เสี่ยงต่อโรคไขมันพอกตับ (Fatty liver)

โรคไขมันพอกตับ (Fatty liver) เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันส่วนเกินในตับมากผิดปกติ เนื่องจากว่าร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่ร่างกายรับประทานอาหารไปใช้ให้หมด จึงทำให้ไขมันที่หลงเหลืออยู่นั้นมาสะสมอยู่ในตับซึ่งอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ โรคนี้จะสามารถพบได้ทุกเพศและทุกวัยแต่จะเริ่มพบในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป โรคไขมันพอกตับจะทำให้ตับของผู้ป่วยมีอาการบวม ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว และไม่อยากอาหาร เมื่อไขมันพอกตับมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ทำการรักษาให้ถูกวิธี อาจจะให้ตับเกิดการอักเสบจากนั้นก็อาจจะทำให้ตับเกิดพังผิด เมื่อเกิดพังผืดมีความเสี่ยงสูงอย่างมากที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคตับแข็ง แต่ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงโรคอันตรายนี้ได้เพียงแค่หลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมดังต่อไปนี้

5 พฤติกรรมอันตรายที่เสี่ยงให้เกิดโรคไขมันพอกตับ

1. ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้ดื่ม การดื่มแอลกอฮอล์ถ้าดื่มในปริมาณที่เหมาะสมและนานๆ จะดื่มตับก็สามารถกำจัดแอลกอฮอล์ได้ปกติไม่ส่งผลเสียอะไรมากต่อตับ แต่ถ้าหากดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็จะทำให้ตับของคุณนั้นทำงานหนักขึ้นเพราะต้องกำจัดแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อตับทำงานหนักขึ้นก็จะทำให้ตับเสียหาย และความเสียหายอาจจะส่งผลให้ตับเกิดโรคไขมันพอกตับได้

2. ทานแต่อาหารที่มีพลังงานสูง

สำหรับอาหารที่มีพลังงานสูง ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีน อาหารเหล่านี้จะที่มีไขมันจำนวนมาก เมื่อทานอาหารเหล่านี้เข้าไปทำให้ตับไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้หมด เพราะว่าไขมันที่ทานเข้าไปนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินจึงเกิดการสะสมอยู่ที่ตับจึงก่อให้เกิดโรคไขมันพอกตับนั่นเอง

3. ไม่ออกกำลังกายปล่อยร่างกายให้น้ำหนักเกินเกณฑ์

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นโรคไขมันพอกตับ คือ การมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ดัชนีมวลกาย 25-30) การที่คนเราน้ำหนักเกินเกณฑ์นอกจากทานอาหารที่มีแคลอรีสูงแล้วก็เพราะไม่ออกกำลังกายนั่นเอง เมื่อไม่มีการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายไม่เกิดการเผาผลาญไขมันส่วนเกินตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วน และคนที่ป่วยเป็นโรคอ้วนนั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันพอกตับสูงถึงร้อยละ 90

4. ทานยาสมุนไพรหรือยานอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

การทานยาเป็นระยะเวลานานติดต่อกันจะส่งผลเสียต่อตับทำให้ตับมีการทำงานที่หนักขึ้นเพราะมีปริมาณเกินความต้องการของร่างกาย เมื่อตับทำงานหนักเกินไปอาจจะส่งผลให้เกิดการสะสมพิษในตับได้ เมื่อตับมีพิษก็จะส่งผลให้ตับเกิดความเสียหายและเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันพอกตับได้

5. ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย

โรคไขมันพอกตับสามารถเกิดจากไวรัสตับอักเสบบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ซึ่งไวรัสตับอักเสบเหล่านั้นสามารถติดกันได้ถ้าหากผู้ป่วยไม่ระมัดระวังตัวและไม่ทำความสะอาดร่างกายให้เหมาะสม โดยไวรัสตับอักเสบที่กล่าวมานั้นจะทำให้ตับเกิดพังผืดขึ้นมาที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคไขมันพอกตับนั่นเอง

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การดำรงชีวิต ช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายได้มากมาย เช่น โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง ฯลฯ

สอบถาม