การปลูกถ่ายตับคืออะไร ?
การปลูกถ่ายตับนั้น เป็นการรักษาตับที่ใช้กับตับที่มีความเสียหายมากเกินกว่าที่จะทำการรักษาวิธีได้อีกต่อไป โดยสภาวะที่จำเป็นต้องเปลี่ยนตับมักจะเป็นอาการของโรคตับในระยะสุดท้าย เช่น มะเร็งตับ ตับแข็ง ตับล้มเหลว เป็นต้น
ตับที่จะปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยมาจากไหน
- ผู้บริจาคอวัยวะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยต้องการบริจาคให้ผู้ป่วยด้วยตัวเอง
- ญาติของผู้เสียชีวิตต้องการให้ผู้เสียชีวิตบริจาค
- ผู้บริจาคที่เสียชีวิตไปแล้ว เคยแจ้งความต้องการบริจาคในขณะที่มีชีวิตอยู่
การคัดเลือดผู้รับบริจาคปลูกถ่ายตับ
มีหลักเกณฑ์การคัดตามความเร่งด่วนดังนี้
- ผู้ที่มีปัญหาตับแข็งระยะสุดท้าย
- ผู้ที่มีภาวะตับอักเสบรุนแรงแบบเฉียบพลันจนเกิดภาวะตับวาย
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับ (ที่มีเซลล์มะเร็งไม่เกิน 3 ก้อนที่ขนาดเล็กกว่า 3 ซม. หรือก้อนใหญ่ก้อนเดียวขนาดไม่เกิน 5 ซม.) โดยในผู้ที่มีเซลล์มะเร็งหลายก้อนที่ขนาดใหญ่เกินไปหรือมีการลุกลามมากแล้ว การปลูกถ่ายตับมักไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร
*ในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง แต่ยังมีตับส่วนที่ดีเกิน 20% จะยังไม่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายตับ
ผลข้างเคียงจากการปลูกถ่ายตับ
การปลูกถ่ายอวัยวะนี้ยังมีปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะความเข้ากันของอวัยวะในร่างกายใหม่ โดยการปลูกถ่ายจะมีเงื่อนไขหลายข้อที่ต้องพิจารณา เช่น ความเข้ากันของหมู่เลือดของผู้บริจาคและผู้รับบริจาค
และในการปลูกถ่ายผู้รับบริจาคจะต้องทานยากดภูมิต้านทานไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านอวัยวะใหม่ โดยในระหว่างที่ทานยากดภูมิ ผู้รับบริจาคจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆมากขึ้น และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและโรคแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่างในช่วงนี้
การปลูกถ่ายตับในประเทศไทย
ตับเป็นอวัยวะที่ขาดแคลนและหาผู้บริจาคปลูกถ่ายได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะในประเทศไทยยังมีการบริจาคอวัยวะที่น้อยมาก ในปี 2552 พบว่ามีการบริจาคประมาณ 100 ราย ในขณะที่มีความต้องการประมาณ 150-200 รายต่อปี และในกลุ่มผู้ที่รอรับบริจาคก็มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงถึงกว่า 20%