กินยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานเสี่ยง “มะเร็งตับ” จริงหรือไม่

การมีเพศสัมพันธ์ถือว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ไม่ว่าจะวัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ การมีเพศสัมพันธ์เป็นการแสดงความรัก ความพึงพอใจ ความชอบในรูปแบบหนึ่ง แต่การมีเพศสัมพันธ์ต้องอยู่ในขอบเขตการพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย และต้องมีความพร้อมต่อการรับความเสี่ยงการตั้งครรภ์ในทุกครั้งถึงแม้ว่าคุณจะใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพราะการใส่ถุงยางอนามัยป้องกันการตั้งครรภ์ได้เพียงแค่  98-99% ไม่ใช่ 100% ไหนจะปัญหาถุงยางแตก ถุงยางรั่ว ถุงยางมีขนาดไม่พอดีกับอวัยวะเพศ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมมากขึ้น และวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ก็คือ “การทานยาคุม”

ยาคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาคุมกำเนิด (Oral contraceptive pill) เป็นยาคุมกำเนิดที่มีการใส่ฮอร์โมนเพศหญิงเข้าไปด้วย คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะป้องกันการตั้งครรภ์ โดยจะยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีสภาพที่ไม่เหมาะต่อการตั้งครรภ์นั่นเอง ถึงแม้ว่าการทานยาคุมจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้แถมได้รับความนิยมสูง แต่ถ้าทานยาคุมกำเนิดไม่ถูกต้องตามคำแนะนำของเภสัชกร นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวเมื่อทานเป็นเวลานานอีกด้วย

ประเภทของยาคุมกำเนิด

  1. ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive: COC) เป็นยาคุมฉุกเฉินที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอยู่ในเม็ดเดียว มีประสิทธิภาพในการป้องกันที่สูงมาก
  2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestrogen-only pills: POP) เป็นยาคุมฉุกเฉินที่มีส่วนประกอบเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเท่านั้น ยาประเภทนี้จะมีทั้งหมด 28 เม็ด ผู้ทานจะต้องทานติดต่อกันทุกวันโดยห้ามหยุดแม้แต่วันเดียว
  3. ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency contraception pill) เป็นการยาคุมป้องกันแบบฉุกเฉิน มักจะใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
    • ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
    • ถูกข่มขืน
    • ถุงยางอนามัยมีปัญหา เช่น ถุงยากแตก ถุงยางรั่ว
    • คำนวณวันมีเพศสัมพันธ์ผิดพลาด

วิธีป้องกันการตั้งครรภ์

การสวมถุงยางอนามัยในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้การันตีว่าคุณจะไม่ท้อง 100% ถึงแม้ว่าคุณจะใช้ถุงยางอนามัยถูกต้องและถูกขนาดแล้วก็ตาม เพราะบางทีถุงยางอนามัยอาจจะขาด รั่ว หรือเกิดความเสียหายแต่เรามองไม่เห็น ทำให้ผู้หญิงยังมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อยู่ เมื่อถุงยางอนามัยเกิดปัญหาระหว่างมีเพศสัมพันธ์ แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่เลือกจะทานยาคุมฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ถ้าหากถุงยางอนามัยมีปัญหาบ่อยเราก็ต้องทานยาคุมฉุกเฉินบ่อยขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบจากการทานยาคุมฉุกเฉินตามมา แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์โดยวิธีการดังต่อไปนี้ ก็จะลดการทานยาคุมฉุกเฉินได้ เช่น

  • การฝังยาคุมกำเนิด (Implant Contraception) วิธีคุมกำเนิดที่ป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3 ปี มีประสิทธิภาพสูง ผู้ใช้งานมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงแค่ 0.01%-0.5% มีลักษณะเป็นหลอดประมาณ 3 เซนติเมตร สำหรับการฝังยาคุมกำเนิดจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที โดยจะฝังหลอดยาคุมกำเนิดไว้ที่ใต้ผิวหนัง บริเวณท้องแขนด้านใน
  • การหลั่งนอก (Withdrawal) คือการถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนถึงจุดสุดยอด วิธีการนี้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงถึง 22% เพราะในระหว่างถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดอาจมีอสุจิเล็ดลอดเข้าไปในช่องคลอดได้
  • ห่วงอนามัย (Intrauterine Device) เป็นเครื่องมือการแพทย์รูปตัว T มีขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะมีประสิทธิภาพสูง สำหรับห่วงยางอนามัยมีให้เลือกใช้ 2 แบบ คือ ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนโพรเจสติน และห่วงอนามัยชนิดเคลือบสารทองแดง การป้องกันโดยวิธีนี้ผู้ใช้งานมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงแค่ 0.01-1% แต่วิธีการนี้สามารถป้องกันได้ชั่วคราวเท่านั้น

ผลกระทบระยะยาวของการทานยาคุมกำเนิด

การทานยาไม่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณ ยาแผนปัจจุบัน เมื่อทานเป็นระยะเวลานานย่อมก่อให้เกิดพิษส่งผลให้ตับทำงานหนัก ทำให้ตับเกิดการอักเสบก่อให้เกิดพังผืดในตับ จนทำให้เป็นตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้บางคนเกิดข้อสงสัยว่าการทานยาคุมกำเนิดจะส่งผลกระทบต่อตับหรือไม่? เพราะบางคนก็ทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานมากกว่า 5 ปี จากผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีสุขภาพดีทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับจริง แต่เป็นความเสี่ยงในอัตราที่ต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไป แต่ถ้าผู้ทานยาคุมกำเนิดมีปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่น ตับอักเสบ ตับวาย ฯลฯ ไม่ควรทานยาคุมกำเนิด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับได้

การทานยาคุมไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงแค่โรคมะเร็งตับเท่านั้น ยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆ อีกด้วย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น ใครที่ทานยาคุมเป็นประจำควรพบแพทย์ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรค

สอบถาม