โรคตับแข็ง (Cirrhosis) ทำไมถึงมีอัตราการเสียชีวิตสูง?

โรคตับแข็ง (Cirrhosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเพราะตับได้รับความเสียหายจนเกิดแผลเป็นที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตับที่ได้รับความเสียหายจะมีลักษณะคล้ายพังผืด ที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของตับลดลง ถ้าหากไม่รีบทำการรักษาแผลเป็นในเนื้อตับก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด

ทำไมโรคตับแข็งมีอัตราการเสียชีวิตสูง ?

จากข้อมูลขององค์กรวิทยาทางเดินอาหารโลก (World Gastroenterology Organisation) ได้คาดคะเนว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคตับแข็งเป็นจำนวนกว่า 50 ล้านคน และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตเกือบ 1 ล้านคนจากประชากรทั่วโลก ผู้ป่วยตับแข็งส่วนมากในระยะแรกจะไม่มีอาการเจ็บป่วยแสดงออกมาให้เห็น ถ้าหากไม่ตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำก็อาจจะไม่พบว่าเป็นโรคตับแข็ง ทำให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งกว่าจะรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคตับแข็งนั้นก็อยู่ในช่วงที่ตับได้รับความเสียหายอย่างมาก ทำให้ประสิทธิภาพของตับลดลง อาการป่วยของผู้ป่วยที่แสดงออกมาจึงมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก จนแพทย์ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการเท่านั้น เพราะสาเหตุนี้จึงทำให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง

อาการของโรคตับแข็ง

  • มีอาการดีซ่าน (ตัวเหลืองและตาขาว)
  • ร่างกายมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • มีอาการไข้ มีอาการอ่อนเพลีย
  • มีเลือดออกง่าย
  • มีการคันตามผิวหนัง
  • อุจจาระสีอ่อน
  • มีความสับสน หรือมีอาการความจำเสื่อม

สาเหตุของโรคตับแข็ง

  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และไวรัสตับอักเสบชนิดซี
  • มีประวัติเป็นโรคตับมาก่อน
  • โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ หรือโรคอ้วน
  • แบ่งปันของใช้ส่วนตัวให้แก่ผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ฯลฯ
  • เกิดภาวะหัวใจวาย

วิธีป้องกันโรคตับแข็ง

1. โรคตับแข็งเกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดดังกล่าว ควรทำดังต่อไปนี้

  • ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
  • ป้องกันด้วยการไม่ใช้เข็มร่วมกัน
  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์ควรป้องกันด้วยถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • ไม่แชร์ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น เช่น เครื่องสัก กรรไกรตัดเล็บ ที่โกนหนวด ฯลฯ

2. หยุดการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันตับเสียหาย

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคอ้วนหรือโรคไขมันพอกตับ ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคตับแข็ง แล้วหันมาทานอาหารที่มีคุณภาพและให้ประโยชน์ต่อร่างกาย พร้อมกับหลีกเลี่ยงการทานอาหารดิบที่อาจจะส่งผลเสียต่อตับได้

4. หลีกเลี่ยงการทานยาสมุนไพรหรือทานยานอกเหลือจากที่แพทย์สั่ง เพราะการทานยาในปริมาณมากเป็นระยะเวลาจะทำให้ตับได้รับความเสียหายได้

5. หันมาออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน หรือจะอาทิตย์ละ 3-4 วัน เพื่อร่างกายที่แข็งแรง และเพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้สูงเกินเกณฑ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็ง

สอบถาม