รู้เท่าทัน “ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่สามารถป้องกันได้
ไวรัสตับอักเสบบี ภัยเงียบแสนอันตรายที่ส่งผลให้ตับถูกทำลาย ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายโรค
ไวรัสตับอักเสบบี ภัยเงียบแสนอันตรายที่ส่งผลให้ตับถูกทำลาย ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายโรค
มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นโรคที่พบเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นโรคที่พบเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงในแต่ละปี เป็นโรคที่มีการลุกลามแพร่กระจาย และเกิดจากหลายปัจจัย
ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus) ไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน และมีอัตราที่สูงที่ก่อให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง จากนั้นก่อให้เกิดโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นโรคที่ได้รับความสำคัญ พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลกและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่ง พบมากที่สุดในเพศชาย
ไขมันพอกตับ (Fatty liver) คือ ภาวะที่มีไขมันไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเซลล์ตับ จนกลายเป็นไขมัน
โรคตับแข็ง (Cirrhosis) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เราคุ้นหู โรคดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่เนื้อเยื่อตับถูกทำลายต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนเกิดแผลเป็นและพังผืดมีลักษณะแข็งกว่าปกติ (Fibrous tissue)
บอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เซลล์ตับมีอาการอักเสบอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือถูกทำลาย อันเนื่องมาจากสารเคมี การเสพยาเสพติด การดื่มสุรามากเกินไป หรือเชื้อไวรัสต่างๆ
ไวรัสตับอักเสบ อี (Hepatitis E Virus) คืออะไร ? โรคไวรัสตับอักเสบอี (HEV) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสน้องใหม่ ซึ่งเพิ่งจะมีการตรวจพบมากขึ้นในระยะหลัง การติดเชื้อที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2498 ณ เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มเอเชียและประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ อี เพียงประปรายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสชนิดนี้ยังสามารถพบได้ในสัตว์บางประเภทด้วย เช่น หมู กวาง กระต่าย นก และหนู เป็นต้น ไวรัสตับอักเสบอี เป็น สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในประเทศกำลังพัฒนาและถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของหญิงตั้งครรภ์ เพราะในจำนวนผู้ติดเชื้อราวๆ 20 ล้านรายทั่วโลกแต่ละปี จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึงประมาณ 70,000 คน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยคิดเป็นร้อยละ 20 จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบ อี เนื่องจากอาการของโรคไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดนั้น ส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน การตรวจเลือดจะช่วยให้สามารถระบุชนิดของโรคได้ว่า ผู้ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดไหน โดยการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เพื่อหาเชื้อไวรัสอาร์เอ็นเอ HEV นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถตรวจหาสารแอนทิบอดี้ของเชื้อไวรัส […]
ไวรัสตับอักเสบ ดี (Hepatitis D Virus) คืออะไร ? โรคไวรัสตับอักเสบ ดี (HDV) เป็นโรคติดต่อที่พบได้น้อยมาก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะจำกัดตัวอยู่ใน กลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นและกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ อีกทั้งยังพบได้มากในกลุ่มประเทศโซนยุโรปมากกว่าในประเทศไทยหรือในเอเชีย มันเป็นไวรัสที่แฝงมากับ ไวรัสตับอักเสบ บี และต้องอาศัยองค์ประกอบของไวรัสตับอักเสบบีในการแบ่งตัว ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบดีต้องมีเชื้อไวรัสชนิดบีอยู่ในร่างกายอยู่ก่อนแล้ว หรืออาจติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้มาพร้อมๆ กัน การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบ ดี เมื่อแพทย์ทำการตรวจเลือดของผู้ที่ป่วยหรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จะพบค่า HbAg ,IgM anti-HDV และ IgG anti-HDV ให้ผลเป็นบวก ส่วนในรายที่เป็น โรคไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ก่อนแล้วและมาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี ในภายหลัง จะตรวจเลือดพบว่า: มีจำนวนเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในปริมาณน้อย มี HDAg และ HDV ในกระแสเลือด มี IgM และ IgG anti-HDV จำนวนมากในกระแสเลือด ทั้งนี้ […]
ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus) ไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นโรคมีสาเหตุมาจากการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) โดยสามารถติดต่อกันได้ทางเลือดหรือทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ หากไม่ได้ทำการรักษา สามารถทำให้เกิดผลที่รุนแรงต่อตับตามมา โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเรื้อรัง มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาเป็นโรคตับที่รุนแรงหรือ มะเร็งตับ ได้ เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง มากกว่าเชื้อไวรัสชนิด บี และมากกว่าสาเหตุที่เกิดจากการดื่มสุรา ที่สำคัญ ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรังจะกลายไปเป็นโรคตับแข็ง และประมาณร้อยละ 4 ของผู้ป่วยโรคตับแข็งจะมีอาการรุนแรงขึ้นกระทั่งกลายไปเป็นมะเร็งตับในที่สุด การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบ ซี หากท่านใดคิดว่าตนเองมีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สามารถไปโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจได้ทันที โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อโรคดังกล่าว หากพบว่ามีเชื้อ แพทย์ก็จะให้ทำการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณไวรัสในเลือด (Viral Load) และตรวจหาสายพันธ์ุของไวรัส ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหาทางรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมให้ได้ โดยแพทย์จะดำเนินการดังที่กล่าวมาในห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บ ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบซี จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ หากแพทย์ประเมินอาการเบื้องต้นแล้วพบว่าอาจเป็นตับอักเสบแบบเฉียบพลัน จะวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับและดูว่ามีการอักเสบหรือไม่ รวมถึงการตรวจหาสารภูมิคุ้มกัน Anti-HCV หรือนับปริมาณไวรัสในเลือด ซึ่งบางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรก […]
ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A Virus) คืออะไร ? ไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นโรคตับจากไวรัสที่สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ไวรัสชนิดนี้ (HAV) มักจะถูกแพร่ผ่านการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนหรือผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ เชื้อไวรัสนี้จะทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน ทำให้พบมีการระบาดในชุมชนและกลุ่มคนที่รวมกันตาม โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร เป็นต้น การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ผู้ป่วยที่มีอาการอันเกี่ยวเนื่องกับโรคตับอักเสบ หากเจาะเลือดแล้วพบว่า ค่า SGOT หรือ SGPT สูงแสดงว่ามีการอักเสบของตับ ซึ่งควรได้รับการตรวจวินิจฉัยในขั้นตอนถัดไป การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบเอ สามารถทำได้โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือสารแอนติบอดี้ IgM ต่อต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ จากของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำเหลืองที่เก็บรวบรวมได้ทันทีหรือในระหว่างการเจ็บป่วย ซึ่งมักจะสามารถตรวจพบได้ภายใน 5-10 วันหลังการติดเชื้อและตรวจพบอย่างต่อเนื่องได้นานถึง 6 เดือนหลังจากเริ่มมีอาการ วิธีการดังกล่าวจะดำเนินการร่วมกับการตรวจภูมิคุ้มกันหรือสารแอนติบอดี้จำเพาะ (HAV-specific Immunoglobulin Antibody) ของไวรัสที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าหรือมากกว่านั้น จากการเจาะน้ำเหลือง 2 ครั้งด้วยวิธี RIA หรือ ELISA ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อ […]
ไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B Virus) โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นอาการอักเสบของตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (HBV) ไวรัสดังกล่าวจะทำร้ายเซลล์ตับและทำให้ตับเกิดการอักเสบ ในบางกรณี การติดเชื้อดังกล่าวอาจอยู่ในภาวะคงที่เป็นเวลาหลายปี ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อไม่ทราบว่าตนเองกำลังติดเชื้อในร่างกาย แต่เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแบ่งตัวและแพร่กระจายออกไปทำลายเซลล์ตับได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการอักเสบและทำลายการทำหน้าที่ของตับ โรคไวรัสตับอักเสบบีนั้นแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นแล้วหายภายใน 180 วัน และแบบเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการนานกว่า 180 วัน ทั้งนี้ สำหรับแบบเฉียบพลัน เมื่อมีการรับเชื้อไปแล้วราวสองสามเดือน จะมีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด ปวดเมื่อยตามตัว และจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาการตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ถ้าไปให้แพทย์ตรวจดู จะพบค่าการทำงานของตับสูงกว่าปกติ การวินิจฉัย จะรู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี? การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี มีหลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่มักนิยมใช้กัน ได้แก่ การเจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ – เป็นการตรวจหาค่าต่างๆ เช่น ALT บิลลิรูบิน และปริมาณของ HBeAg ซึ่งก็คือโปรตีนที่อยู่บนผิวของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี […]