ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลีกเลี่ยงโรคไขมันพอกตับ

ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีอากาศค่อนข้างร้อน เมื่อถึงวันหยุดสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มวัยเรียนส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้น “คาเฟ่” ที่มีแอร์คลายร้อน มีมุมถ่ายรูปสวยๆ มากมาย มีบรรยากาศที่สงบ มีอาหารหวาน อาหารคาว และเครื่องดื่มรสชาติอร่อย นอกจากนี้แล้วไม่ต้องเดินทางไกลเจอปัญหารถติดอีกด้วย เพราะเหตุนี้จึงทำให้คนไทยบางส่วนมีปัญหาโรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยก่อโรคไขมันพอกตับ เพราะติดการทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน และเมนูอาหารคาวที่เต็มไปด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมัน เนื่องจากว่าอาหารเหล่านี้มีรสชาติอร่อย แถมเมื่อทานแล้วยังให้ความรู้สึกที่ดีอีกด้วย

โรคไขมันพอกตับคืออะไร?

โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver) หรือไขมันเกาะตับ เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในเซลล์มากเกินปกติ โรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดตับอักเสบแบบเรื้อรัง ส่งผลให้ตับเกิดพังผืดกลายเป็นโรคตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ พบมากในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงที่ระบบเผาผลาญมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคไขมันพอกตับได้ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตหลีกเลี่ยงไขมันพอกตับ

  1. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกผักและผลไม้ที่ช่วยบำรุงตับ เช่น กระเทียม คะน้า กะหล่ำดาว ถั่ว ฯลฯ โดยไฟเบอร์ที่อยู่ในผักและผลไม้จะช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายง่าย ป้องกันการสะสมสารพิษในตับทำให้ตับไม่ต้องทำงานหนัก 
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะนำไปสู่โรคไขมันพอกตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (AFLD) ส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้ตับเกิดพังผืดกลายเป็นตับแข็งที่อันตรายถึงชีวิตได้
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน แป้ง ไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ชานมไข่มุก เค้ก น้ำอัดลม แฮมเบอร์เกอร์ เมนูอาหารทอด ฯลฯ อาหารเหล่านี้จะทำให้ผู้ทานเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันสูง เพิ่มความเสี่ยงการเป็นไขมันพอกตับ
  4. ทานปลาทะเลน้ำลึกอยู่เป็นประจำ เช่น ปลาทูน่า ปลา แซลมอน ปลาซาร์ดีน ฯลฯ เพราะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในตับได้
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ หรือเต้นแอโรบิกเพื่อป้องกันโรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินในเซลล์ตับนั่นเอง
  6. หลีกเลี่ยงการทานยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง เพราะการทานยาในปริมาณมากอาจจะเกิดสารพิษตกค้างในตับ ส่งผลให้ตับต้องทำงานหนักกว่าเดิมเท่าตัวเพื่อกำจัดสารพิษเหล่านี้ออกจากร่างกาย จนตับเกิดการอักเสบขึ้นมานั่นเอง
  7. ทานอาหารปรุงสุกทุกครั้ง
  8. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี พร้อมกับหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ที่มีการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีจะทำให้ตับเกิดการอักเสบเรื้อรังซึ่งอันตรายต่อตับในระยะยาว
  9. ทานสมุนไพรป้องกันไขมันพอกตับ แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม และอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
  10. ตรวจสุขภาพประจำปี

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ ในร่างกาย เมื่อตับมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ย่อมส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ปรึกษาปัญหาสุขภาพตับให้แข็งแรงแอดไลน์ : @Helthywish

สอบถาม