ท้องมาน (Ascites) คือ ภาวะที่ร่างกายเกิดการสะสมของเหลวในบริเวณที่อยู่ระหว่างอวัยวะในช่องท้องและเยื่อหุ้มในช่องท้อง จนทำให้ท้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น คล้ายกับคนตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของตับ หรือเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับ เช่น ตับแข็ง ตับอ่อนอักเสบ หรือมะเร็งตับ
สาเหตุของการเกิดท้องมาน
นอกจากการทำงานที่ผิดปกติของตับ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ เช่น มะเร็งตับ ตับอ่อนอักเสบ มะเร็งตับ และไวรัสตับอักเสบ การที่ความดันในหลอดเลือดของตับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เลือดในตับมีการไหลเวียนผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตจนทำให้เกิดภาวะท้องมานแล้ว ยังมีโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะท้องมาน มีดังนี้
- การดื่มแอลกอฮอล์
- วัณโรค
- หัวใจล้มเหลว
- การขาดสารอาหาร จนทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดแอลบูมินขึ้น
- ไตวาย
- ภาวะไฮโปไทรอยด์
ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมาน
- มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องบวม
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักเพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกติ
- แสบร้อนกลางอก
- ดีซ่าน
- อาเจียน
การวินิจฉัยภาวะท้องมาน
สำหรับการวินิจฉัยท้องมานแพทย์จะทำการสอบถามประวัติ และอาการของผู้ป่วยก่อน จึงค่อยทำการตรวจบริเวณช่องท้องของผู้ป่วย เพื่อทำการตรวจสอบ ประเมินโรคเพิ่มเติม โดยวิธีดังต่อไปนี้
- การตรวจด้วย CT Scan
- การอัลตราซาวด์
- การตรวจเลือด
- การตรวจด้วย MRI Scan
- ตรวจการทำงานของตับ
- ตรวจการทำงานของไต
- ตรวจปัสสาวะ
วิธีการรักษาภาวะท้องมาน
- รักษาด้วยยา สำหรับยาที่ใช้รักษาท้องมานจะเป็นยาสำหรับขับปัสสาวะออกจากร่างกายของผู้ป่วย เช่น Spironolactone, Furosemide เป็นต้น และในระหว่างทานยารักษาท้องมาน ผู้ป่วยจะต้องตรวจสุขภาพตับและไตอยู่เสมอ เพราะการทานยาขับขับปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้ร่างกายทำการขับแร่ธาตุบางชนิดออก จนทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดแร่ธาตุได้
- รักษาด้วยการเจาะน้ำที่สะสมอยู่ในช่องท้องออก วิธีการนี้จะเริ่มรักษาเมื่อการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์จะใช้เข็มเจาะเอาของเหลวในช่องท้องออกมา พร้อมกับทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย เพราะวิธีนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
- รักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับวิธีนี้จะทำการรักษาเมื่อรักษาด้วยยา และเจาะน้ำในช่องท้องออกแล้วไม่ได้ผล ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องนำของเหลวจากบริเวณออก เพื่อให้การระบบการไหลเวียนของเลือดในตับของผู้ป่วยดีขึ้น
วิธีป้องกันภาวะท้องมาน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ระมัดระวังการทานยาทุกประเภท เมื่อมีความจำเป็นต้องทานยาต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ทำการปรึกษา สอบถามปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องตับ สามารถทำการติดต่อมาที่เบอร์ 091-529-8263 หรือคลิกที่นี่