มะเร็งตับ (Liver cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบมะเร็งตับในผู้ชายสูงเป็นอันดับ 1 และในผู้หญิงสูงเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งที่พบทั้งหมดในประเทศไทย จึงทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับประมาณ 16,000 ราย และโรคมะเร็งตับนั้นก็มีการลุกลามของโรคที่ค่อนข้างรวดเร็ว แต่อาการในช่วงแรกของผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการมากนัก ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนมากนั้นกว่าจะมาตรวจสุขภาพและวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับหรือไม่ก็มีอาการที่รุนแรงมากแล้ว จึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้หลังจากได้ยืนยันผลวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับแล้วจะมีเวลาอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิตลง เพราะเหตุนี้ผู้ป่วยมะเร็งตับมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ
สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งตับนั้นเกิดจากหลายพฤติกรรมและเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- การดื่มแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่
- ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี
- เป็นโรคตับแข็งมาก่อน
- ฯลฯ
อาการของโรคมะเร็งตับ
สำหรับโรคมะเร็งตับในระยะแรกของการป่วยผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ มะเร็งตับมีการลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีอาการของโรคมะเร็งตับอย่างน้อยหนึ่งอาการดังที่จะกล่าวถึงนี้ ผู้ป่วยคนไหนที่มีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคได้ทันเวลา
- หน้าท้องบวม
- ดีซ่าน (อาการผิวเหลืองและตาขาว)
- มีก้อนเนื้อที่แข็งบริเวณใต้ซี่โครงด้านขวา
- ผิวมีการช้ำและเลือดออกที่ง่าย
- ร่างกายรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ
- ฯลฯ
ประเภทของอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับเป็นโรคที่ผู้ป่วยอาการทรุดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากว่าโรคนี้มีการลุกลามที่ค่อนข้างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักและยากต่อการรักษา นอกจากนี้แล้วโรคมะเร็งตับยังทำให้ความอยากอาหารของผู้ป่วยลดน้อยลงยิ่งทำให้อาการป่วยนั้นรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรที่จะรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและต่อสู้กับโรคนี้ได้ โดยประเภทของอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมีดังนี้
- ทานอาหารที่มีโปรตีนปราศจากไขมัน (Lean proteins) เนื่องจากตับมีหน้าที่ในการผลิตโปรตีนบางชนิด เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับตับก็จะทำให้การผลิตโปรตีนนั้นมีปัญหา ดังนั้นการทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำจึงดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมาก เช่น ไข่ ถั่วเหลือง อกไก่ ฯลฯ เป็นต้น
- ทานผักและทานผลไม้ เนื่องจากว่าผักและผลไม้เต็มไปด้วยสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี ช่วยในการย่อยอาหาร และการขับถ่ายที่ดี เช่น แครอท บร็อคโคลี่ แอปเปิล ส้ม แคนตาลูป ฯลฯ
- ทานธัญพืชที่ไม่ขัดสี (Whole grains) เนื่องจากว่าอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและแหล่งไฟเบอร์ที่ดี ช่วยในการย่อยอาหาร และเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายของผู้ป่วย เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ฯลฯ
- น้ำ (Water) น้ำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้ป่วยยิ่งต้องให้ความสำคัญในการดื่มน้ำอย่างมากและควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทุกวัน เนื่องจากว่าน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกายมากมาย เช่น กำจัดสารพิษ ป้องกันท้องผูก ควบคุมความดันโลหิต ฯลฯ เป็นต้น
- ไขมันดี (Healthy fats) โดยไขมันดีจะเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นและร่างกายต้องการ เช่น อะโวคาโด ถั่ว ฯลฯ เป็นต้น ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานในการดำรงชีวิต