“สมุนไพร” ทางเลือกรักษาไขมันพอกตับโดยไม่ต้องพึ่งยา

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver) เป็นภาวะที่ไขมันไปสะสมในตับมากเกินปกติ สำหรับไขมันที่อยู่ในตับส่วนใหญ่มักจะเป็นไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เมื่อร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์มากเกินปกติจะส่งกระทบต่อร่างกาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ เป็นต้น วิธีการรักษาไขมันพอกตับส่วนมากจะควบคุมปริมาณอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบันการรักษาไขมันพอกตับด้วย “สมุนไพร” กำลังได้รับความนิยม

สมุนไพรคืออะไร?

สมุนไพร  คือ ยาประเภทหนึ่งที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุที่มาจากธรรมชาติ สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคและนำมาบำรุงร่างกายจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. ลักษณะเป็นของแข็ง หรือเรียกว่า “ยาลูกกลอน”  ยารูปแบบนี้จะนำสมุนไพรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สมุนไพรแห้งเร็ว จากนั้นจำไปตากแดดให้แห้ง พอแห้งแล้วจะนำไปปั่นโดยผสมกับน้ำเพียงเล็กน้อย จากนั้นจะทำการปั้นเป็นก้อน
  2. ลักษณะเป็นของเหลว ส่วนใหญ่รูปแบบนี้จะนำสมุนไพรไปต้มในน้ำเดือด ระยะเวลาในการต้มจะขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร ใครที่จะทานสมุนไพรในรูปแบบของเหลวควรหาวิธีการต้มอย่างละเอียด เพราะสมุนไพรบางประเภทถ้าต้มนานจนเกินไปจะทำให้สารอาหารในสมุนไพรหายไปเรื่อยๆ
  3. ลักษณะเป็นกึ่งแข็งกึ่งเหลว สมุนไพรประเภทนี้จะมีลักษณะที่ไม่แข็งจนตั้งได้ แต่ก็ไม่เหลวจนเป็นน้ำ เช่น ยาพอก เป็นยาที่ใช้ภายนอกร่างกาย มีสรรพคุณช่วยในการลดปวด ลดอักเสบ เป็นต้น

แนะนำ 4 สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ

1. โสม (Ginseng)

โสมเป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านสรรพคุณทางยา เช่น ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งบางประเภท ลดภาวะเส้นเลือดแข็งตัว กระตุ้นการไหลเวียนเลือด เป็นต้น นิยมใช้เป็นสมุนไพรสำหรับรักษาตับ โดยเฉพาะโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) โสมจะช่วยลดเอนไซม์ Gamma Glutamyltransferase (GGT) เป็นเอนไซม์ที่ใช้บ่งชี้ว่าตับได้รับความเสียหายหรือไม่ให้น้อยลงกว่าเดิม

2. ชะเอม (Licorice)

ชะเอมเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนรากของชะเอมที่มีสารสำคัญมากมาย เช่น สารซาโปนิน กลีเซอไรซิน เป็นต้น สารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส  และป้องกันตับอีกด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยไขมันพอกตับเพราะรากชะเอมช่วยลดความรุนแรงของโรคไขมันพอกตับได้จริง ซึ่งดูได้จากงานวิจัยของ Ali Akbar Hajiaghamohammadi et al. ศึกษาประสิทธิภาพของรากชะเอม ในการทดลองนี้จะใช้แคปซูลที่มีสารสกัดจากรากชะเอมจำนวน 2 กรัม ให้กลุ่มทดลองทานเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าช่วยลดเอนไซม์ Aspartate Transaminase (AST) และช่วยลดเอนไซม์ alanine aminotransferase (ALT) เป็นเอนไซม์ที่ใช้บ่งบอกว่าตับมีความเสียหายหรือไม่ ยิ่งพบมากเท่าไรตับยิ่งเสียหายมากเท่านั้นให้ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

3. ขมิ้น (Turmeric)

ขมิ้นมีคุณสมบัติป้องกันการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านมะเร็ง ทำให้ขมิ้นได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) เพราะมีผลงานวิจัยของ Sepideh Rahmani et al. ที่ทดลองการรักษาผู้ป่วย NAFLD ด้วยขมิ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์พบว่าช่วยลดไขมันในตับ ช่วยลดเอนไซม์ Aspartate Transaminase (AST) และช่วยเอนไซม์ alanine aminotransferase (ALT) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

4. กระเทียม (Garlic)

กระเทียมเป็นสมุนไพรที่เต็มไปด้วยสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น allicin, alliin, ajoene เป็นต้น ซึ่งสารประกอบเหล่านี้เป็นสารสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงโรคไขมันพอกตับ โดยมีผลงานวิจัยมากมายที่ยืนยันได้ว่ากระเทียมสามารถลดความรุนแรงของโรคไขมันพอกตับได้จริง เช่น งานวิจัยของ Davood Soleimani et al. ที่ได้ทดลองใช้กระเทียมแบบผงในปริมาณ 800 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ แล้วพบว่ากระเทียมสามารถลดความรุนแรงโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD)

ใครที่เป็นโรคไขมันพอกตับแล้วสนใจใช้ “สมุนไพร” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการรักษาโรค ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนทานทุกครั้ง เพื่อให้การทานสมุนไพรเกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด

สอบถาม